วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แนวทางการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในประเทศไทย

แนวทางการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในประเทศไทย

1. แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปทางการเมืองให้ประชาชนมีสิทธิและอำนาจในการจัดตั้งองค์กรที่
เป็นฝ่ายประชาชนหรือฝ่ายเป็นกลาง เป็นอิสระ มีขีดความสามารถที่จะตรวจสอบนักการเมืองและ
เจ้าหน้าที่รัฐด้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะองค์กรด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น

2. ตราพระราชบัญญัติตั้งองค์กรอิสระเพิ่มขึ้น เช่น องค์กรอิสระข้อมูลข่าวสาร องค์กรอิสระคุ้มครอง
ผู้บริโภคองค์กรอิสระสภาพแวดล้อมแห่งชาติ องค์กรอิสระเพื่อความโปร่งใส และปฏิรูปกระบวนการ
ได้มาซึ่งคณะกรรมการองค์กร ควรให้ได้คนที่เป็นกลาง เป็นอิสระจากพรรคการเมืองจริงๆ และไม่ควรเน้น
คุณสมบัติผู้สมัครประเภทที่มุ่งให้ข้าราชการตำแหน่งสูงที่เกษียณแล้วเข้ามาเป็นคณะกรรมการเหล่านี้ 
เนื่องจากจะทำให้องค์กรเหล่านี้ทำงานแบบระบบราชการและไม่กล้าตรวจสอบนักการเมืองอย่างจริงจัง

3. รัฐบาลต้องจัดงบประมาณสนับสนุนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้น ควรจัดสรรงบสนับสนุน 
องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชน ให้ทำงานคู่ขนานและร่วมกับองค์กรอิสระเพราะการได้รับการ
สนับสนุน และการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเสริมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานขององค์กรอิสระ 
ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็จะช่วยให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง พัฒนาระบบประชาธิปไตยที่
ประชาชนมีส่วนร่วมให้ก้าวหน้าไปมากยิ่งขึ้น

4. ต้องเร่งปฏิรูปกฎหมาย ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทุกระดับ ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา 
ปฏิรูปการสื่อสารมวลชน เพื่อให้กลไกการทำงานของกฎหมายการศึกษา ระบบข้อมูลข่าวสารเกิด
ความเป็นธรรม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น

5. ประชาชน นักวิชาการ ผู้ทำงาน สื่อสารมวลชนต้องร่วมกันศึกษาทำความเข้าใจและเผยแพร่ความรู้
ระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อน เช่น เรื่องการสื่อสาร โทรคมนาคม ตลาดหลักทรัพย์ 
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การตกลงการค้าเสรี ฯลฯ ให้ประชาชนเข้าใจและรู้เท่าทันนักการเมืองให้มากที่สุด 
ประชาชนจะได้ไม่ถูกหลอกให้เป็นเพียงผู้ลงคะแนนให้นักการเมืองอย่างเดียว หลังจากนั้น นักการเมือง
จะเอาทรัพยากรของประเทศไปใช้อย่างไรบ้าง ประชาชนไม่รับรู้ หรือไม่มีบทบาทอะไรเลย

6. ควรมีการรวมตัวของภาคธุรกิจ ภาคประชาชนทุกฝ่าย เป็นองค์กรผู้บริโภคและองค์กรเพื่อความโปร่งใส
ที่เข้มแข็ง ติดตามตรวจสอบการทำงานของทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดระบบการบริหารที่ดีหรื
อธรรมาภิบาล/บริษัทภิบาล (Good Government)  ที่ดี คือ มีประสิทธิภาพโปร่งใสและเป็นธรรม เพราะการ
จัดตั้งองค์กรประเภทนี้และการพัฒนาระบบบริหารที่ดีเป็นหนทางที่ป้องกันและลดการทุจริตคอรัปชั่น
อย่างได้ผลทางหนึ่ง



ที่มา: https://witayakornclub.wordpress.com


สถานการณ์และภาพการทุจริตในประเทศไทย



สถานการณ์และภาพการทุจริตในประเทศไทย























ที่มา: http://slideplayer.in.th/slide/2941220/





ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน

 ทฤษฎีอุปถัมภ์


}  จากโครงสร้างของสังคมมีความสัมพันธ์ในลักษณะการพึ่งพาอาศัยในความเท่าเทียมกัน โดยที่ต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์ต่างตอบแทน
}  ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีองค์ประกอบของความเป็นมิตรรวมอยู่ด้วย แต่เป็นมิตรภาพที่ขาดดุลยภาพ คือ อีกฝ่ายหนึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งมากเกินไป
}  เป็นระบบซึ่งมีการพึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือกัน ทำให้เกิดพวกพ้องในองค์กรทำให้ง่ายต่อการเกิด
การทุจริตและประพฤติมิชอบและยากต่อการตรวจสอบ

ทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการ

ทฤษฎีเกี่ยวกับลำดับชั้นความต้องการของมาสโลว์ เป็นการเน้นย้ำความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีความต้องการ
ไม่มีที่สิ้นสุด
1. ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จสูงสุด หรือความต้องการประจักษ์ตน
2. ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องและเป็นที่ยอมรับ
3. ความต้องการในสังคม ความรักและความเป็นเจ้าของ
4. ความต้องการในความปลอดภัยและความมั่นคง
5. ความต้องการพื้นฐานทางกายภาพและชีวภาพ

ทฤษฎีการทุจริต

ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัย 3 ประการ คือ ความไม่ซื่อสัตย์ โอกาสที่เอื้ออำนวย และสิ่งที่เร้าหรือปัจจัยเร้า
1. ความไม่ซื่อสัตย์ เมื่อมนุษย์ยังมีความต้องการ ความโลภ แม้ถูกสะกดด้วยจริยธรรม คุณธรรม
 และบทลงโทษทางกฎหมายก็ตาม ความจำเป็นทางเศรษฐกิจมีส่วนผลักดันให้บุคคลตัดสินใจกระทำ
ความผิดเพื่อให้ตนเองอยู่รอด
2. โอกาส ผู้กระทำความผิดพยายามที่จะหาโอกาสที่เอื้ออำนวยต่อการทุจริต โอกาสที่เย้ายวนต่อการทุจริต
ย่อมกระตุ้นให้เกิดการทุจริตได้ง่ายขึ้นกว่าโอกาสที่ไม่เปิดช่อง
3. การจูงใจ เป็นองค์ประกอบข้อสุดท้ายที่มีความสำคัญ เนื่องจาก การทำความเข้าใจถึงมูลเหตุจูงใจให้บุคคล
ตัดสินใจกระทำการทุจริตจะนำไปสู่การหามาตรการในการป้องกันการทุจริตด้วย
ประเภทของการจูงใจ สามารถจำแนกได้ ดังนี้
(1) มีความทะเยอทะยานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
(2) ปรารถนาจะยกระดับตนเองให้ทัดเทียมกับบุคคลอื่นในสังคม
(3) ปัญหาทางการเงิน 
(4) การกระทำเพื่ออยากเด่น
(5) ความต้องการที่จะแก้เผ็ดซึ่งอาจมาจากผู้บังคับบัญชา
(6) ทำเพื่ออุดมคติของตนเอง




ที่มา: http://slideplayer.in.th/slide/2941220/



รูปแบบของการคอร์รัปชันหลักในสังคมไทย

รูปแบบของการคอร์รัปชันหลักในสังคมไทย


รูปแบบของการคอร์รัปชันหลักในสังคมไทยที่ได้จาก
การสังเคราะห์งานวิจัยโดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร (2552)

1. การเรียกเก็บภาษีคอร์รัปชัน มีชื่อเรียกหลายชื่อ ซึ่งรวมทั้งการเรียกสินบน ส่วย สินน้ำใจ ค่าน้ำร้อนน้ำชา 
และเงินใต้โต๊ะ เป็นต้น 

2. การดึงเงินงบประมาณแผ่นดินจากค่าคอมมิชชั่นโครงการมาเป็นของตน การรับสินบน การจัดซื้อจัดจ้าง 
รวมทั้งการเสนอโครงการเพื่อให้ได้เงินคอร์รัปชันทั้งๆที่โครงการดังกล่าวอาจไม่มีประโยชน์อย่างแท้จริง

3. การจ่ายสินบนเพื่อให้ได้มาซึ่งการผูกขาดธุรกิจ หรือผูกขาดการประมูลโครงการ

4. การเล่นพรรคเล่นพวก การดำรงตำแหน่งหลายหน่วยงาน จนเกิดลักษณะที่เรียกว่าการทับซ้อน
ของผลประโยชน์ หรือ ผลประโยชน์ทับซ้อน” (Conflicts of interests) 

5. การใช้อำนาจทางการเมือง ดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทธุรกิจที่ตนเอง ครอบครัว
หรือพรรคพวกมีผลประโยชน์อยู่ เรียกว่า คอร์รัปชันเชิงนโยบาย

ที่มา: http://slideplayer.in.th/slide/2941220/


สาเหตุของการทุจริต

สาเหตุของการทุจริต

กลุ่มที่ 1 เกิดจากพฤติกรรมความโลภ:
-มาจากพฤติกรรมส่วนบุคคล ที่มาจากความโลภ ความไม่เพียงพอ
-เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ขาดหลักยึดด้านคุณธรรม จนกลายเป็นคนที่เห็นแก่ได้
 มีความอยากและความไม่รู้จักพอ
-การขาดปทัสถาน (Norm) ของความเป็นบุคคลสาธารณะ (Public Persons) ที่ต้องยึดหลักความเป็นกลาง
 และความเป็นธรรมเป็นที่ตั้ง

กลุ่มที่ 2  เกิดจากการมีโอกาสหรือการที่ระบบการทำงานมีช่องว่าง:
การเกิดจากการมีโอกาสหรือการที่ระบบการทำงานมีช่องว่างเป็นสาเหตุที่มาจากระบบการทำงาน
มีช่องว่างให้ทุจริต
การที่ขาดระบบการควบคุม ตรวจสอบที่ไม่รัดกุม
โดยสรุปสาเหตุ ได้แก่
1) การขาดความรู้ ความเข้าใจผิด หรือถูกใช้ให้กระทำ
2) ความเคยชินของเจ้าหน้าที่ ที่คุ้นเคยกับการที่จะได้ ค่าน้ำร้อนน้ำชา
3) การถูกบังคับให้รับตามบรรทัดฐานของกลุ่ม (ตามน้ำ)
4) การอาศัยช่องว่างของระเบียบและกฎหมาย
5) ไม่ปฏิบัติตามกฎและระเบียบ
6) การทุจริตตามระบบ (Systemic) ด้านงบประมาณ การเงิน การคลัง และการจัดซื้อจัดจ้าง
7) เกิดจากการใช้อำนาจ บารมี อิทธิพล หรือตำแหน่งหน้าที่ราชการที่มีอำนาจในการวินิจฉัย
8) โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองที่อ่อนแอ
9) โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการผูกขาดของกลุ่มทุนขนาดใหญ่
10) โครงสร้างทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นแบบอุปถัมภ์ ค่านิยมยกย่องคนมีฐานะร่ำรวย
11) โครงสร้างทางการเมืองที่ต้องอาศัยเงินเป็นใหญ่ การจ่ายเงินเพื่อซื้อเสียง ทำงานทางการเมือง
12) กระแสทุนทางการเมือง อาทิ โครงการเมกะโปรเจค ถือเป็นการคอร์รัปชันเชิงบูรณาการที่ต้องใช้ทุน
ในการบริหารจัดการ จัดจ้างที่ปรึกษา วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีคนรอบรู้ในเรื่องเหล่านี้
อยู่เพียงวงจำกัด ทำให้การทุจริตประพฤติมิชอบเป็นไปได้ง่าย
13) ความไม่เข้มแข็งขององค์กรตรวจสอบปราบปรามของรัฐ

กลุ่มที่ 3 เกิดจากการขาดจริยธรรม:
-สาเหตุที่มาจากการขาดจริยธรรมส่วนบุคคล
-จริยธรรมขององค์กรไม่ได้มีการบังคับใช้ให้เกิดผล
-ขาดเจตจำนงที่แน่วแน่ของฝ่ายการเมืองในการแก้ไขปัญหา
-ภาคการเมืองขาดความมั่นคงและต่อเนื่อง

กลุ่มที่ 4เกิดจากแรงจูงใจและความคุ้มค่าในการเสี่ยง:
-เพราะทุจริตแล้วได้รับผลประโยชน์มากเมื่อเทียบกับความเสี่ยง
-การบังคับใช้กฎหมายปราบปรามหรือการลงโทษทางสังคมขาดประสิทธิภาพ
โดยสรุปสาเหตุหลักได้ดังนี้
1) การขาดระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง ขาดความหลากหลายในการตรวจสอบจาก
ภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคประชาชน รวมถึงการทำลายระบบตรวจสอบอำนาจรัฐ
2) ขาดการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ
3) ประชาชนส่วนใหญ่มักจะเบื่อหน่าย วางเฉย ไม่มีปฏิกิริยาต่อพฤติกรรมการใช้อำนาจหน้าที่ที่ไม่ถูกต้อง
ทำให้ผู้ทุจริตมีแรงจูงใจและรู้เห็นว่าผลตอบแทนที่จะได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงนั้นคุ้มค่า
จึงแสวงหาและพัฒนาแนวทางการทุจริตที่มีรูปแบบแปลกใหม่
4) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจขั้นพื้นฐานด้านกฎหมาย และขั้นตอนการอำนวยความยุติธรรมรวมถึง
ความล่าช้าในการให้บริการและขาดความโปร่งใส่ของกระบวนการ ทำให้ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายและ
ขาดความศรัทราต่อกระบวนการยุติธรรม
5) ประชาชนขาดแรงจูงใจในการเข้ามามีส่วนในกระบวนการยุติธรรม 




ความเคยชินต่อการทุจริตในสังคมไทย

ความเคยชินต่อการทุจริตในสังคมไทย
(จากผลการสำรวจของ ABAC และ NIDA)







รูปแบบการทุจริต



รูปแบบของการทุจริต

การทุจริตสีดำ  หมายถึง การทุจริตที่คนส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องการว่ามีความผิดและสมควรถูกตำหนิ

การทุจริตสีเทา เป็นการกระทำที่คนส่วนหนึ่งเห็นว่าควรถูกลงโทษ แต่อีกส่วนหนึ่งเห็นแตกต่างออกไป
 และคนส่วนใหญ่มีความเห็นคลุมเครือ

การทุจริตสีขาว เป็นการกระทำที่คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชนชั้นนำในสังคมเห็นว่ายอมรับได้ เช่น
 การแซงแถว การใช้อภิสิทธิ์ การให้ค่าน้ำร้อนน้ำชา เป็นต้น
(เป็นการทุจริตที่น่ากลัวที่สุด)





ที่มา: acoc.mof.go.th/wp-content/.../02/01Corruption.ppt