เพื่อนๆ

หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สาเหตุของการทุจริต

สาเหตุของการทุจริต

กลุ่มที่ 1 เกิดจากพฤติกรรมความโลภ:
-มาจากพฤติกรรมส่วนบุคคล ที่มาจากความโลภ ความไม่เพียงพอ
-เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ขาดหลักยึดด้านคุณธรรม จนกลายเป็นคนที่เห็นแก่ได้
 มีความอยากและความไม่รู้จักพอ
-การขาดปทัสถาน (Norm) ของความเป็นบุคคลสาธารณะ (Public Persons) ที่ต้องยึดหลักความเป็นกลาง
 และความเป็นธรรมเป็นที่ตั้ง

กลุ่มที่ 2  เกิดจากการมีโอกาสหรือการที่ระบบการทำงานมีช่องว่าง:
การเกิดจากการมีโอกาสหรือการที่ระบบการทำงานมีช่องว่างเป็นสาเหตุที่มาจากระบบการทำงาน
มีช่องว่างให้ทุจริต
การที่ขาดระบบการควบคุม ตรวจสอบที่ไม่รัดกุม
โดยสรุปสาเหตุ ได้แก่
1) การขาดความรู้ ความเข้าใจผิด หรือถูกใช้ให้กระทำ
2) ความเคยชินของเจ้าหน้าที่ ที่คุ้นเคยกับการที่จะได้ ค่าน้ำร้อนน้ำชา
3) การถูกบังคับให้รับตามบรรทัดฐานของกลุ่ม (ตามน้ำ)
4) การอาศัยช่องว่างของระเบียบและกฎหมาย
5) ไม่ปฏิบัติตามกฎและระเบียบ
6) การทุจริตตามระบบ (Systemic) ด้านงบประมาณ การเงิน การคลัง และการจัดซื้อจัดจ้าง
7) เกิดจากการใช้อำนาจ บารมี อิทธิพล หรือตำแหน่งหน้าที่ราชการที่มีอำนาจในการวินิจฉัย
8) โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองที่อ่อนแอ
9) โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการผูกขาดของกลุ่มทุนขนาดใหญ่
10) โครงสร้างทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นแบบอุปถัมภ์ ค่านิยมยกย่องคนมีฐานะร่ำรวย
11) โครงสร้างทางการเมืองที่ต้องอาศัยเงินเป็นใหญ่ การจ่ายเงินเพื่อซื้อเสียง ทำงานทางการเมือง
12) กระแสทุนทางการเมือง อาทิ โครงการเมกะโปรเจค ถือเป็นการคอร์รัปชันเชิงบูรณาการที่ต้องใช้ทุน
ในการบริหารจัดการ จัดจ้างที่ปรึกษา วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีคนรอบรู้ในเรื่องเหล่านี้
อยู่เพียงวงจำกัด ทำให้การทุจริตประพฤติมิชอบเป็นไปได้ง่าย
13) ความไม่เข้มแข็งขององค์กรตรวจสอบปราบปรามของรัฐ

กลุ่มที่ 3 เกิดจากการขาดจริยธรรม:
-สาเหตุที่มาจากการขาดจริยธรรมส่วนบุคคล
-จริยธรรมขององค์กรไม่ได้มีการบังคับใช้ให้เกิดผล
-ขาดเจตจำนงที่แน่วแน่ของฝ่ายการเมืองในการแก้ไขปัญหา
-ภาคการเมืองขาดความมั่นคงและต่อเนื่อง

กลุ่มที่ 4เกิดจากแรงจูงใจและความคุ้มค่าในการเสี่ยง:
-เพราะทุจริตแล้วได้รับผลประโยชน์มากเมื่อเทียบกับความเสี่ยง
-การบังคับใช้กฎหมายปราบปรามหรือการลงโทษทางสังคมขาดประสิทธิภาพ
โดยสรุปสาเหตุหลักได้ดังนี้
1) การขาดระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง ขาดความหลากหลายในการตรวจสอบจาก
ภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคประชาชน รวมถึงการทำลายระบบตรวจสอบอำนาจรัฐ
2) ขาดการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ
3) ประชาชนส่วนใหญ่มักจะเบื่อหน่าย วางเฉย ไม่มีปฏิกิริยาต่อพฤติกรรมการใช้อำนาจหน้าที่ที่ไม่ถูกต้อง
ทำให้ผู้ทุจริตมีแรงจูงใจและรู้เห็นว่าผลตอบแทนที่จะได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงนั้นคุ้มค่า
จึงแสวงหาและพัฒนาแนวทางการทุจริตที่มีรูปแบบแปลกใหม่
4) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจขั้นพื้นฐานด้านกฎหมาย และขั้นตอนการอำนวยความยุติธรรมรวมถึง
ความล่าช้าในการให้บริการและขาดความโปร่งใส่ของกระบวนการ ทำให้ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายและ
ขาดความศรัทราต่อกระบวนการยุติธรรม
5) ประชาชนขาดแรงจูงใจในการเข้ามามีส่วนในกระบวนการยุติธรรม 




1 ความคิดเห็น: