เพื่อนๆ

หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แนวทางการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในประเทศไทย

แนวทางการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในประเทศไทย

1. แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปทางการเมืองให้ประชาชนมีสิทธิและอำนาจในการจัดตั้งองค์กรที่
เป็นฝ่ายประชาชนหรือฝ่ายเป็นกลาง เป็นอิสระ มีขีดความสามารถที่จะตรวจสอบนักการเมืองและ
เจ้าหน้าที่รัฐด้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะองค์กรด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น

2. ตราพระราชบัญญัติตั้งองค์กรอิสระเพิ่มขึ้น เช่น องค์กรอิสระข้อมูลข่าวสาร องค์กรอิสระคุ้มครอง
ผู้บริโภคองค์กรอิสระสภาพแวดล้อมแห่งชาติ องค์กรอิสระเพื่อความโปร่งใส และปฏิรูปกระบวนการ
ได้มาซึ่งคณะกรรมการองค์กร ควรให้ได้คนที่เป็นกลาง เป็นอิสระจากพรรคการเมืองจริงๆ และไม่ควรเน้น
คุณสมบัติผู้สมัครประเภทที่มุ่งให้ข้าราชการตำแหน่งสูงที่เกษียณแล้วเข้ามาเป็นคณะกรรมการเหล่านี้ 
เนื่องจากจะทำให้องค์กรเหล่านี้ทำงานแบบระบบราชการและไม่กล้าตรวจสอบนักการเมืองอย่างจริงจัง

3. รัฐบาลต้องจัดงบประมาณสนับสนุนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้น ควรจัดสรรงบสนับสนุน 
องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชน ให้ทำงานคู่ขนานและร่วมกับองค์กรอิสระเพราะการได้รับการ
สนับสนุน และการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเสริมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานขององค์กรอิสระ 
ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็จะช่วยให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง พัฒนาระบบประชาธิปไตยที่
ประชาชนมีส่วนร่วมให้ก้าวหน้าไปมากยิ่งขึ้น

4. ต้องเร่งปฏิรูปกฎหมาย ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทุกระดับ ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา 
ปฏิรูปการสื่อสารมวลชน เพื่อให้กลไกการทำงานของกฎหมายการศึกษา ระบบข้อมูลข่าวสารเกิด
ความเป็นธรรม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น

5. ประชาชน นักวิชาการ ผู้ทำงาน สื่อสารมวลชนต้องร่วมกันศึกษาทำความเข้าใจและเผยแพร่ความรู้
ระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อน เช่น เรื่องการสื่อสาร โทรคมนาคม ตลาดหลักทรัพย์ 
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การตกลงการค้าเสรี ฯลฯ ให้ประชาชนเข้าใจและรู้เท่าทันนักการเมืองให้มากที่สุด 
ประชาชนจะได้ไม่ถูกหลอกให้เป็นเพียงผู้ลงคะแนนให้นักการเมืองอย่างเดียว หลังจากนั้น นักการเมือง
จะเอาทรัพยากรของประเทศไปใช้อย่างไรบ้าง ประชาชนไม่รับรู้ หรือไม่มีบทบาทอะไรเลย

6. ควรมีการรวมตัวของภาคธุรกิจ ภาคประชาชนทุกฝ่าย เป็นองค์กรผู้บริโภคและองค์กรเพื่อความโปร่งใส
ที่เข้มแข็ง ติดตามตรวจสอบการทำงานของทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดระบบการบริหารที่ดีหรื
อธรรมาภิบาล/บริษัทภิบาล (Good Government)  ที่ดี คือ มีประสิทธิภาพโปร่งใสและเป็นธรรม เพราะการ
จัดตั้งองค์กรประเภทนี้และการพัฒนาระบบบริหารที่ดีเป็นหนทางที่ป้องกันและลดการทุจริตคอรัปชั่น
อย่างได้ผลทางหนึ่ง



ที่มา: https://witayakornclub.wordpress.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น