เพื่อนๆ

หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน

 ทฤษฎีอุปถัมภ์


}  จากโครงสร้างของสังคมมีความสัมพันธ์ในลักษณะการพึ่งพาอาศัยในความเท่าเทียมกัน โดยที่ต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์ต่างตอบแทน
}  ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีองค์ประกอบของความเป็นมิตรรวมอยู่ด้วย แต่เป็นมิตรภาพที่ขาดดุลยภาพ คือ อีกฝ่ายหนึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งมากเกินไป
}  เป็นระบบซึ่งมีการพึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือกัน ทำให้เกิดพวกพ้องในองค์กรทำให้ง่ายต่อการเกิด
การทุจริตและประพฤติมิชอบและยากต่อการตรวจสอบ

ทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการ

ทฤษฎีเกี่ยวกับลำดับชั้นความต้องการของมาสโลว์ เป็นการเน้นย้ำความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีความต้องการ
ไม่มีที่สิ้นสุด
1. ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จสูงสุด หรือความต้องการประจักษ์ตน
2. ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องและเป็นที่ยอมรับ
3. ความต้องการในสังคม ความรักและความเป็นเจ้าของ
4. ความต้องการในความปลอดภัยและความมั่นคง
5. ความต้องการพื้นฐานทางกายภาพและชีวภาพ

ทฤษฎีการทุจริต

ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัย 3 ประการ คือ ความไม่ซื่อสัตย์ โอกาสที่เอื้ออำนวย และสิ่งที่เร้าหรือปัจจัยเร้า
1. ความไม่ซื่อสัตย์ เมื่อมนุษย์ยังมีความต้องการ ความโลภ แม้ถูกสะกดด้วยจริยธรรม คุณธรรม
 และบทลงโทษทางกฎหมายก็ตาม ความจำเป็นทางเศรษฐกิจมีส่วนผลักดันให้บุคคลตัดสินใจกระทำ
ความผิดเพื่อให้ตนเองอยู่รอด
2. โอกาส ผู้กระทำความผิดพยายามที่จะหาโอกาสที่เอื้ออำนวยต่อการทุจริต โอกาสที่เย้ายวนต่อการทุจริต
ย่อมกระตุ้นให้เกิดการทุจริตได้ง่ายขึ้นกว่าโอกาสที่ไม่เปิดช่อง
3. การจูงใจ เป็นองค์ประกอบข้อสุดท้ายที่มีความสำคัญ เนื่องจาก การทำความเข้าใจถึงมูลเหตุจูงใจให้บุคคล
ตัดสินใจกระทำการทุจริตจะนำไปสู่การหามาตรการในการป้องกันการทุจริตด้วย
ประเภทของการจูงใจ สามารถจำแนกได้ ดังนี้
(1) มีความทะเยอทะยานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
(2) ปรารถนาจะยกระดับตนเองให้ทัดเทียมกับบุคคลอื่นในสังคม
(3) ปัญหาทางการเงิน 
(4) การกระทำเพื่ออยากเด่น
(5) ความต้องการที่จะแก้เผ็ดซึ่งอาจมาจากผู้บังคับบัญชา
(6) ทำเพื่ออุดมคติของตนเอง




ที่มา: http://slideplayer.in.th/slide/2941220/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น